ที่เที่ยวลพบุรี
ลพบุรี เป็นจังหวัดที่น่ามาเที่ยวชมอีกจังหวัด วันนี้ housegraden.net ขอนำเสนอ ที่เที่ยวลพบุรี ลพบุรี ไม่ได้มีดีและโดดเด่นแค่ทุ่งทานตะวัน แต่เป็นเมืองเก่าที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เทียบเท่ากับอยุธยา สุโขทัย มีโบราณสถานเก่าแก่ที่สวยงามและน่าหลงใหลที่ทำให้อยากมาย้อนเวลาสัมผัสความรู้สึกในอดีต นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยงามที่ทำให้ต้องว้าว เป็นเมืองใกล้กรุง สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ควรค่าแก่การปักหมุดเที่ยวถ่ายภาพกันแบบสวยๆ อ่านเพิ่มเติม
พระปรางค์สามยอด
พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ปราสาทศิลาแลงแบบเขมรเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกัน ลักษณะเป็นปราสาทเขมรในศิลปะบายน มีการประดับลวดลายปูนปั้นที่งดงาม
พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ปราสาทศิลาแลงแบบเขมรเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วย มุขกระสัน ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติม วิหารก่ออิฐถือ ปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธานเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199 -2231)
ประวัติพระปรางค์สามยอด
ลักษณะเป็นปราสาทเขมรในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 – 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 – ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้น เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกัมพูชา แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบpattaya pool villa
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
เป็นปราสาทขอม 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน (อันตรละ) โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ปราสาทประธาน มีความสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ โครงสร้างของปราสาททำจากศิลาแลงฉาบปูน มีการประดับประดาตามส่วนต่างๆ ของปราสาทด้วย ปูนปั้น อันเป็นลักษณะของงานสถาปัตยกรรมในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 – ประมาณ 1757) ที่นิยมใช้ ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เช่น ปรางค์พรหมทัตที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประดิษฐานพระรูป ของพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 ปราสาทวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ที่สร้างเป็นปราสาทศิลาแลง 3 องค์เรียงกันในลักษณะเดียวกับ พระปรางค์สามยอด และปรางค์องค์กลางของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง ปัจจุบันได้จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุตามอาคารและพระที่นั่งต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นจำนวนกว่า 1,864 รายการพันธุ์ไม้จัดสวนถาด
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวัง 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2231ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่พระที่นั่งจันทรพิศาลในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2467 เรียกว่า ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน และในปี พ.ศ. 2504 จึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ปัจจุบันได้จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุตามอาคารและพระที่นั่งต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นจำนวนกว่า 1,864 รายการ
บ้านวิชาเยนทร์
บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไม่ไกลจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในสมัยก่อนกลุ่มบ้านอันงดงามเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับคณะทูตที่มาเข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังเมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรก ลักษณะของสถาปัตยกรรมบ้านหลวงรับราชทูตบางหลังเป็นยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออกก่อด้วยอิฐ ถือปูน 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ RENAISSANCE ซึ่งแพร่หลายในสมัยนั้น
บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไม่ไกลจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในสมัยก่อนกลุ่มบ้านอันงดงามเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับคณะทูตที่มาเข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังเมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2228
ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อชาวกรีกที่ มีชื่อ Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ได้เข้ามารับราชการและได้รับความดีความชอบ ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นถึง เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านหลวงวิชาเยนทร์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมบ้านหลวงรับราชทูตบางหลังเป็นยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออกก่อด้วยอิฐ ถือปูน 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ RENAISSANCE ซึ่งแพร่หลายในสมัยนั้น
กระเพราคอฟฟี่
กระเพรา & Coffee ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี บริเวณปากทางเข้าเขาจีนแล ซึ่งเป็นจุดชมทุ่งดอกทานตะวันชื่อดังของลพบุรี เป็นร้านยอดนิยมที่โดดเด่น เพราะบรรยากาศหลังร้านวิวดีมาก มีสะพานไม้ทอดยาวท่ามกลางทุ่งดอกดาวกระจายสีเหลืองและดอกคอสมอสตัดกับท้องฟ้าสีฟ้าสดใส ซึ่งจะสวยงามที่สุดในฤดูหนาว โดยมีเขาจีนแลภูเขาหินปูนรูปร่างสวยงามเป็นฉากหลัง
กระเพรา & Coffee ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี บริเวณปากทางเข้าเขาจีนแล ซึ่งเป็นจุดชมทุ่งดอกทานตะวันชื่อดังของลพบุรี เป็นร้านยอดนิยมที่โดดเด่น เพราะบรรยากาศหลังร้านวิวดีมาก มีสะพานไม้ทอดยาวท่ามกลางทุ่งดอกดาวกดระจายสีเหลืองและดอกคอสมอสตัดกับท้องฟ้าสีฟ้าสดใส ซึ่งจะสวยงามที่สุดในฤดูหนาว โดยมีเขาจีนแลภูเขาหินปูนรูปร่างสวยงามเป็นฉากหลัง
ตัวร้านเป็นสีส้มอิฐ ตั้งอยู่บริเวณถนนทางเข้าเขาจีนแล โดยดอกไม้จะสวยงามที่สุดน่าจะเป็นฤดูหนาว ส่วนฤดูอื่นก็อาจมีดอกไม้แต่อาจไม่เยอะมาก ร้านมีที่นั่ง 2 โซน คือห้องแอร์ กับวิวหลังร้าน open air มองเห็นวิวทุ่งดอกไม้และเขาจีนแล หากมาในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด คนจะค่อนข้างเยอะมาก ร้านที่นั่งเต็มตลอดและอาจรอคิวอาหารและเครื่องดื่มค่อนข้างนาน อาหารส่วนใหญ่ เน้นเมนูจานเดียวเช่น ข้าวกระเพรา สเต๊กเครื่องดิ่มของหวาน ขนมปังปิ้งต่างๆ หากต้องการมาถ่ายภาพบริเวณสะพานไม้ไผ่และทุ่งดอกไม้ ก็สามารถเดินเข้าไปในร้าน โดยทางร้านคิดค่าเข้าชมถ่ายรูปคนละ 20 บาท